“ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้” เมื่อการศึกษาไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย

ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้ เมื่อการศึกษาไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย

รายงานฉบับพิเศษ “ห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19” พบภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้ของ “เด็กอนุบาล 3 ยุคโควิด-19” ว่าขาดความพร้อมเข้าเรียนในชั้นประถมต้น โดยสะท้อนจากผลวิจัยสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย ทั้งด้านทักษะพื้นฐานด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และทักษะการรู้คิดเชิงบริหาร

ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้ เมื่อการศึกษาไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย

สังคม ภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) ในปี 2565 เป็นสถานการณ์ที่รุนแรง มีเด็กหางแถวและเกิดความเหลื่อมล้ำมากที่สุด และผู้ปกครองยังอ่านหนังสือให้เด็กฟังน้อยลงในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากขาดสื่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ทักษะการเรียนรู้ของเด็กขาดหายไปกว่าร้อยละ 90 เด็กไทย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มีพัฒนาการไม่สมวัย โดยพัฒนาการเด็กไม่สมวัยที่พบมากที่สุดคือพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 75.2 รองลงมาคือพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 60.1 และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 47จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากห้องเรียน 74 โรงเรียน ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน 98% มีแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน โดยมีเด็กนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เพียง 1.19% เท่านั้น และมีเด็กนักเรียนมากกว่า 50% จับดินสอผิดวิธี  การระบาดของโรคโควิด-19 ที่กินเวลานานกว่า 2 ปี ได้ทำให้สังคมไทยมองเห็นหลาย ๆ ปัญหาที่รุนแรงและชัดเจนมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นคือปัญหา “การศึกษา” ที่มักถูกหยิบยกมาพูดคุยและถกเถียงอยู่ตลอด แม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหาการศึกษาจากหลายภาคส่วน แต่ดูเหมือนปัญหาจะไม่หายไปไหน หนำซ้ำในขณะที่ปัญหาเก่า ๆ ข่าวสังคม ยังไม่ถูกแก้ไข ปัญหาใหม่ ๆ ก็แทรกเข้ามา กลายเป็น “ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้” ที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมมือกันแก้ไข กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงจัดงานเสวนาวิชาการ “ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้หลังโควิด-19 แนวทางฟิ้นฟูรับเปิดเทอมใหม่” เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

แนะนำข่าวสังคม อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “พายุโนรู” อยู่เมืองชัยภูมิ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 กม./ชม.